จำหน่ายตาลปัตร (อุปสมบท,ไม่มีตัวหนังสือ) ตราเต่ามังกร มีให้เลือกหลากหลายตามความต้องการ โดยบริษัท หวัง เซิ่น หมิง จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชุดอุปสมบท ตราเต่ามังกร ตาลปัตรคุณภาพดี ราคาประหยัด
ประวัติความเป็นมา
ตาลปัตร-พัดยศ ของพระสงฆ์ที่พบเห็นอยู่นี้ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานและได้มีการพัฒนารูปแบบมาแล้วหลายครั้งหลาย คราว หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตาลปัตรหรือพัดยศมีอยู่หลายชนิดแต่ละชนิดก็มีรูปทรง ลวดลาย และสีสันงดงามแตกต่างกันออกไปตามความสูงต่ำของชั้นยศ ที่ได้รับพระราชทาน ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียดตอนต่อไป
เรื่องของตาลปัตร-พัดยศ มีนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาหลายท่านได้ให้ข้อสันนิษฐานไว้ว่า แต่เดิมนั้นคงมิใช่ของที่ทำขึ้นมาสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะ แต่นะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ของชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในประเทศแถบเมืองร้อนมา ก่อนสมัยพุทธกาลแล้ว ซึ่งชนแถบนี้มีพัดไว้ใช้พัดลม บังแดด บังฝน นับเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นอย่างหนึ่ง พัดที่ใช้กันนั้น น่าจะมีอยู่ด้วยกันหลายแบบ และทำด้วยวัสดุต่างๆ ตามฐานะของผู้ใช้ คำที่พบในคัมภีร์ทางศาสนาที่กล่าวถึงเรื่องพัดมีอยู่หลายคำ เช่น คำว่า ตาลปัตร วาลวิชนี และจิตรวิชนี
ตาลปัตร เป็นพัดที่เก่าแก่ที่สุด ทำด้วยใบตาล ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย โดยวิธีเอาใบตาลมาตีแผ่ออกแล้วเจียนให้มน หรือมีรูปแบบตามใจชอบแล้วขึงริมให้ตึงเหลือก้านตาลไว้เป็นด้ามตรงกลาง
วาลวิชนี คือ พัดที่มีด้ามด้านข้าง มีทั้งที่ทำด้วยใบตาล ขนนก หรือวัสดุมีค่าอื่นๆ ส่วนใหญ่มักเป็นเครื่องสูงสำหรับใช้โบกพัดวีท่านผู้สูงศักดิ์ หรือเป็นเครื่องราชูปโภค
จิตรวิชนี คือ พัดอันวิจิตรงดงามนั้น เป็นพัดที่ประดิษฐ์ตกแต่งด้วยสิ่งของสำหรับผู้มีทุนทรัพย์ใช้โบกพัดวีในเวลาอากาศร้อน
ตาลปัตร หรือพัดยศ แม้จะมิได้นับเนื่องให้เป็นสิ่งหนึ่งในบริขาร 8 ของพระสงฆ์และก็ไม่เคยพบหลักฐานว่ามีพุทธบัญญัติ ให้พระสงฆ์ใช้ของสิ่งนี้ในโอกาสใดเพียงแต่พบข้อความปรากฏในคัมภีร์ทางศาสนา หลายแห่ง เช่นหนังสือธรรมบท ว่า "ขณะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา มีพระอานนท์ พุทธอุปัฏฐาก ถวายงานพัดอยู่ด้านหลัง"
"พระสารีบุตร ถือพัดอันวิจิตร ขึ้นไปแสดงธรรมบนธรรมาสน์" และความตอนหนึ่งในหนังสือพุทธประวัติว่า " พระเจ้าปัสเสนทิโกศลทรงโปรดให้สร้างพัดอันงดงามวิจิตร" ถวายพระพุทธองค์เป็นต้น